เป็น อุรูสุ = บนขาอ่อน ท. ศัพท์เดิมเป็น อุรุ อุ การันต์ในปุงลิงค์ ลง สุ สัตตมีวิภัตติ ฝ่ายพหุวจนะ ทีฆะ อุ เป็น อู สำเร็จรูปเป็น อุรูสุ, ส่วนในธรรมบทภาค ๓ เรื่องนางวิสาขา หน้า ๖๙ เป็น อูรุมํเสน = ด้วยเนื้อแห่งขาอ่อน อูรุ + มํส ดังนั้น คำว่า ขา, ขาอ่อน จึงมี ๒ ศัพท์ คือ อุรุ กับ อูรุ แต่เพื่อไม่ให้ไปตรงกับ อุรุ ศัพท์ ที่แปลว่า ทราย ควรใช้ศัพท์ว่า อูรุ จะเหมาะกว่า [ในพระไตรปิฎก มีปรากฏทั้ง ๒ ศัพท์ แต่ อูรุ มีปรากฏมากกว่า อุรุ]