“พระนครศรีอยุธยา”
ภาษาบาลีวันละคำวันนี้ขอเสนอคำว่า
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ราชธานีเก่าชวนเล่าขาน
แต่โบราณวัฒนธรรมเลิศล้ำค่า
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สมสง่าสยามนามก้าวไกล
แปลว่าเมืองรบที่ไหนก็ไร้พ่าย
ล้วนหลากหลายอู่ข้าวน้ำสดใส
นักปราชญ์เก่งบรรเลงกานท์กวีไทย
จารึกในคนดีศรีอยุธยาฯ
“พระนครศรีอยุธยา”
อ่านว่า พฺระ-นะ-คอน-สี-อะ-ยุด-ทะ-ยา
แปลว่า เมืองรบที่ไหนก็ไร้พ้าย
ประกอบด้วย พระ + นคร + ศรี + อยุธยา
“พระ”
“พระ” มาจากคำว่า “วร”
“วร” บาลีอ่านว่า วะ-ระ , วอ-ระ
“วร” แปลว่า ประเสริฐ, ยอดเยี่ยม, พร
“วร” ในภาษาไทยแปลง “ว” เป็น “พ”
“พร” คือ คำแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร สิ่งที่ขอตามประสงค์ เช่น ขอพร
“นคร”
“นคร” บาลีอ่านว่า นะ-คะ-ระ
“นคร” เป็นทั้งคำบาลีและสันสกฤต
“นคร”แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่มีปราสาทเป็นต้น”
“นคร” มีรากศัพท์มาจาก “นค”
“นค” หมายถึง อาคารสูง เช่นปราสาท
“นคร” ความหมายเดิมบาลี หมายถึง ป้อม, ที่มั่น, ป้อมปราการ ต่อมาหมายถึง นคร หรือ เมือง (ที่มีป้อมค่าย) “นคร” ในสันสกฤตหมายถึง นคร,บุรี, กรุง, เมืองเอก, ‘เมืองใหญ่หรือ ราชธานี ส่วน “นคร” ในภาษาไทยหมายถึง เมืองใหญ่ , กรุง
“ศรี”
“ศรี” บาลีว่า “สิริ” หรือ “สิรี”
“ศรี” ในสันสกฤตจะมีจุด “ศฺรี”
ในภาษาไทยใช้ทั้ง “สิริ” และ “ศรี”
“สิริ” หมายถึง
- ผสม เช่น สามีภรรยาสิริอายุเข้าด้วยกัน 120 ปี, รวม เช่น สิริอายุได้ 75 ปี
- ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล, เช่น สิริราชสมบัติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ มงคล เป็น สิริมงคล; สวย, งาม, เช่น ทรงมีพระสิริโฉม
“ศรี” หมายถึง
- มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่น ศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง
- ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- พลู หมากพลู ราชาศัพท์เรียกว่า พระศรี
- ผู้หญิง (คำเขมร = สี)
- คำที่ใช้ในบทกลอน ลักษณนามใช้แก่คน เช่น พระปิตุราชมาตุรงค์ทรงพระสรวล เห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี (จากเรื่องพระอภัยมณี)
“อยุธยา”
“อยุธยา” คำนี้ไม่มีในภาษาบาลี
“อยุธยา” เดิมมีที่มาจาก “อโยธยา”
“อโยธยา”
“อโยธยา” อ่านว่า อะ-โย-ทะ-ยา
“อโยธยา” เป็นคำสันสกฤต
แปลว่า “เมืองที่ไม่อาจต่อรบได้”
ประกอบด้วย อ + โยธฺย
“อ”
“อ” แปลงมาจาก “น”
“น” อ่านว่า นะ
“น” แปลว่า ไม่, ไม่ใช่
“โยธฺย”
“โยธฺย” มีรากศัพท์มาจาก “ยุธฺ”
“ยุธฺ” มากจากคำว่า “ยุทฺธ”
“ยุทฺธ” เป็นทั้งบาลีและสันสกฤต
“ยุทฺธ” อ่านว่า ยุด-ทะ
“ยุทฺธ” แปลว่า การรบ, ศึกสงคราม, การต่อสู้
“ยุทฺธ” ภาษาโรมัน yutta
ภาษาฮินดี้ yuta อ่านว่า ยู-ตะ
yuta ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า คนเก่ง
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา นับเป็นราชธานีต้นกำเนิดของประเทศไทย ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าได้รับการสถาปนาขึ้นราวปี พ.ศ. 1893 โดยตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก มีพระมหากษัตริย์องค์แรกผู้สร้างเมืองคือ พระเจ้าอู่ทอง หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
มีข้อสันนิษฐานว่าอยุธยาน่าจะเป็นเมืองเดิมที่เคยมีอยู่มาก่อนแล้ว ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก บริเวณวัดพนัญเชิง เพราะเป็นวัดเก่าแก่น่าจะสร้างก่อนปี พ.ศ. 1893 เสียอีก เวลาต่อมาเกิดโรคระบาดหนักทำให้พระเจ้าอู่ทองนำผู้คนอพยพข้ามแม่น้ำป่าสัก มาก่อร่างสร้างเมืองใหม่บริเวณหนองโสน หรือบึงพระรามในปัจจุบัน และสถาปณากรุงศรีอยุธยาขึ้น ณ ที่แห่งนั้น
กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่ คงความเจริญรุ่งเรืองอยู่นานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์ 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง ราชวงศ์บ้านพลูหลวง โดยตั้งแต่ช่วงอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมาถือเป็นเมืองซึ่งมีความสำคัญทางด้านการค้าขาย การเจริญสัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตก เป็นศูนย์กลางการเดินทางขนส่งสินค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตก เชื่อกันว่ามีผู้คนหลากหลายสัญชาติ หลากศาสนา อาศัยอยู่ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาดังหลักฐานที่ปรากฎให้เห็น
นอกจากนี้การค้าขาย อาณาจักรอยุธยายังมีความเข้มแข็งด้านการสงคราม มีการขยายอาณาเขตไปตามหัวเมืองต่างๆ ทั่วสารทิศ และทำให้อาณาจักรหรือเมืองต่างๆ ที่เคยรุ่งเรืองมาก่อนหน้านี้ลดบทบาทหรือขนาดลงกลายเป็นเมืองประเทศราชขึ้นกับอยุธยา จนบอกได้ว่าอยุธยาเป็นหนึ่งในอาณาจักรยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้
อย่างไรก็ตามกรุงศรีอยุธยาเคยพ่ายแพ้สงครามใหญ่และเสียกรุงถึงสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าบุเรงนอง แห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า นำทัพเข้ารุกกรุงศรีเพื่อประกาศศักดาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2111 การสงครามกินเวลายาวนานหลายเดือน กระทั่งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาจึงแตกพ่าย
อย่างไรก็ตามกรุงศรีอยุธยาเคยพ่ายแพ้สงครามใหญ่และเสียกรุงถึงสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าบุเรงนอง แห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า นำทัพเข้ารุกกรุงศรีเพื่อประกาศศักดาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2111 การสงครามกินเวลายาวนานหลายเดือน กระทั่งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2112 กรุงศรีอยุธยาจึงแตกพ่าย
การเสียกรุงครั้งนั้นกินเวลายาวนานถึง 15 ปี ซึ่งเวลาดังกล่าวพระเจ้าบุเรงนอง ทรงให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราช จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2524 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ขณะนั้นเป็นพระมหาอุปราชแห่งอยุธยา) จึงเห็นว่าจะไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป พระองค์ทรงทำการประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ. 2126 แม้หลังจากนั้นพม่าจะยกทัพมาหมายปราบอยุธยาอีกหลายครั้งแต่ก็ล้มเหลว จนปี พ.ศ. 2133 เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรจึงขึ้นครองราชย์ สร้างให้กรุงศรีอยุธยาให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง
นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรเป็นต้นมา กรุงศรีอยุธยามีสงครามภายในแย่งชิงราชบัลลังก์กันอีกหลายครั้ง มีการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์ จากสุโขทัย เป็นราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง แต่ไม่เคยพ่ายแพ้ในสงครามครั้งใหญ่อีกเลย เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทุกด้านเรื่อยมา กระทั่งถึงคราวเสียกรุงครั้งที่ 2
กษัตริย์พระองค์สุดท้าย องค์ที่ 33 ของกรุงศรีอยุธยาคือพระเจ้าเอกทัศ หรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2301 ต่อมาในปี พ.ศ. 2308 จึงเริ่มถูกรุกรานจากพม่า พอถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2310 หลังจากถูกล้อมกรุงมาเป็นเวลานาน ทหารพม่าก็ยกพลเข้ามาภายในกรุงศรีอยุธยาสำเร็จ บ้านเมืองถูกทำลายอย่างหนัก ถือเป็นอันสิ้นสุดความยิ่งใหญ่ยาวนานกว่า 417 ปี ไว้เพียงเท่านั้น
หลังการเสียกรุงครั้งที่ 2 พระยาตากรวบรวมกำลังพลจากเมืองรอบนอกโดยเฉพาะที่จันทบูร ตราด และธนบุรี กลับมาตีกรุงศรีอยุธยาขับไล่กำลังพลพม่าออกไปสำเร็จ ทว่าด้วยสภาพเมืองเสียหายอย่างหนัก ทำให้พระยาตากเลือกที่มั่นสร้างเมืองใหม่ ปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 สถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี
เมื่อสมเด็จพระเจ้าจากสินเสด็จสวรรคต พระยาจักรีจึงปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสถาปนากรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2325 ถือเป็นการเริ่มต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์นั่นเอง
หลังการเข้าสู่ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ อยุธยาหรือเมืองกรุงเก่ามีสถานะเป็นหัวเมืองจัตวา พอถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2438 ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนการปกครองใหม่เป็นรูปแบบมณฑลเทศาภิบาลจึงเกิดเป็นมณฑลกรุงเก่า ประกอบด้วย อยุธยา อ่างทอง สระบุรี พระพุทธบาท ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี
เมื่อเข้าสู่ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การปกตรองแบบมณฑลถูกยกเลิก อยุธยาจึงกลายเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันมีเขตการปกครอง 16 อำเภอ ถือเป็นจังหวัดสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในภาคกลาง ขณะที่บริเวณเมืองเก่าหรือที่ตั้งเดิมของศูนย์กลางอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา
ตราสัญลักษณ์
รูปหอยสังข์ประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้าภายในปราสาทใต้ต้นหมัน ดวงตราประจำจังหวัดนี้มาจากตำนานการสร้างเมือง พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเล่ากันว่าในปี พ.ศ.1890 โรคห่าระบาดจนผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพย้ายผู้คนออก จากเมืองเดิมมาตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลหนองโสน ซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบ ระหว่างที่ปักเขตราชวัติฉัตรธง ตั้งศาลเพียงตา กระทำพิธีกลบบัตร สุมเพลิง ปรับสภาพพื้นที่เพื่อตั้งพระราชวังอยู่นั้น ปรากฎว่าเมื่อขุดมาถึงใต้ต้นหมันได้พบหอยสังข์ทักษิณาวัตรบริสุทธิ์ พระเจ้าอู่ทอง ทรงโสมนัสในศุภนิมิตนั้นจึงสร้างปราสาทน้อยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานหอยสังข์ดังกล่าว
คำขวัญประจำจังหวัด
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ
เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา
ภาษาบาลีวันละคำ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ประธานโครงการ
พระราชญาณกวี (ปิยโสภณ)
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
แต่งกลอนประกอบ
พระมหารัตนกวี ธมฺมโฆสโก
วัดนางชี ภาษีเจริญ กทม.
ค้นคว้า – วิเคราะห์
พระเจสัน ขันติโก วัดลาดปลาเค้า กทม.







