“พะเยา”
ภาษาบาลีวันละคำวันนี้ขอเสนอคำว่า
จังหวัดพะเยา
ภูกามยาวแปลว่าเขายาวล้อมรอบ
เป็นคันขอบเมืองใหญ่ในสถาน
คือประวัติจังหวัดพะเยานาน
คู่ถิ่นลานนาภาคเหนือเหลือคณา
แลดูกว๊านพะเยาแฝงแหล่งชีวิต
สื่งศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวงหนา บวงสรวงพ่อขุนงำเมืองเรืองฤทธา
ดอยบุษราคัมเขื่องสดแสนงดงามฯ
“พะเยา”
จังหวัดพะเยา มีชื่อเรียกว่าในตำนานว่า “ภูกามยาว”
“ภูกามยาว” อ่านว่า พู-กาม-ยาว
แปลว่า หมู่บ้านที่มีภูเขายาวล้อมรอบ
ประกอบด้วย ภู+กาม+ยาว
“ภู”
“ภู” อ่านว่า พู
“ภู” เป็นคำบาลีสันสกฤต
“ภู” ไม่ใช่ไทยแท้ อีสาน หรือเหนือ
“ภู” ในพจนานุกรมแปลว่า ดิน, แผ่นดิน, โลก “เนินหินที่สูงขึ้นเป็นจอม” หมายถึง ภูเขา
“ภู” มีรากศัพท์เดียวกันกับ คีรี, สิงขล, พนม, เขา หมายถึง “ภูเขา” ทั้งหมด
“กาม”
“กาม” เพี้ยนมาจาก “คาม”
“คาม” เป็นคำบาลีอ่านว่า คา-มะ
“คาม” สันสกฤตว่า “คฺราม”
“คาม” หมายถึง บ้าน หมู่บ้าน
คา-มะ ในภาษาอังกฤษ karma
“karma” หมายถึง กรรม, การกระทำ, เคราะห์, โชค, ผลของการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากชาติก่อนๆ
“คฺราม” ในสันสกฤต เป็นคำที่ยืมมากจาก “gram”
ในภาษาอังกฤษ “gram” อ่านว่า “กรัม” มีรากศัพท์มาจากคำว่า “gramme” ในภาษาฝรั่งเศษ หมายถึง กรัม (หน่วยชั่งน้ำหนัก เท่ากับ 1 ใน 1,000 ส่วนของ 1 กิโลกรัม) (อักษรย่อ : g)
“ยาว”
“ยาว” ในภาษาบาลีว่า “ทีฆ”
“ทีฆ” อ่านว่า ที-คะ
“ทีฆ” แปลตามศัพท์ว่า “ระยะที่เป็นไปด้วยเสียงที่ไกล”
“ทีฆ” ในภาษาบาลี ถ้าเป็นคุณศัพท์ แปลว่า ยาว (long) แต่ถ้าเป็นคำนาม แปลว่า งู (snake)
พะเยาเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญมาก่อนสมัยสร้างเมืองเชียงใหม่ คือก่อน พ.ศ.1839 มีชื่อเดิมว่า “ภูกามยาว” ตามตำนานเมืองพะเยาเขียนว่าสร้างขึ้นโดยขุนศรีจอมธรรม ราชบุตรขุนลาวเงิน หรือ ขุนเงินเจ้าผู้ครองนครเงินยางเชียงแสน ขุนลาวเงินมีราชโอรส 2 องค์คือ ขุนชินและขุนศรีจอมธรรม เมื่อพระโอรสทั้งสององค์ทรงเจริญวัย ได้โปรดให้โอรสองค์แรกครองเมืองนครเงินยางเชียงแสน ส่วนองค์ที่สองคือขุนศรีจอมธรรมได้ทรงแบ่งพระราชทรัพย์และกำลังไพล่พลส่วนหนึ่งให้ไปสร้างเมืองใหม่ ขุนศรีจอมธรรมซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ 25 พรรษา จึงได้นำกำลังพล ช้าง ม้า เดินทางจากเมืองนครเงินยางเชียงแสนมาทางทิศใต้ รอนแรมมาถึง 7 คืน ถึงเมืองเชียงมั่น (บริเวณบ้านกว๊านในปัจจุบัน) ได้พบเมืองร้างแห่งหนึ่งปลายเทือกเขาด้วน ทรงเห็นมีชัยภูมิเหมาะที่จะสร้างบ้านสร้างเมือง จึงหักร้างถางพงแล้วสร้างเมืองขึ้นตามคำแนะนำของปุโรหิตาจารย์ ที่ว่าเป็นบริเวณมงคล เคยเป็นเมืองเก่ามีคูเมืองล้อมรอบและมีประตูเมืองอยู่ 8 ประตูอยู่ก่อนแล้ว ขุนศรีจอมธรรมทรงตั้งบายศรีอัญเชิญเทวดาตามราชประเพณี ทรงฝังเสาหลักเมืองขึ้น ฝังแก้ว เงิน ทองและปลูกต้นไม้ประจำเมือง สร้างเมืองเสร็จเมื่อปี พ.ศ.1638 โปรดให้เรียกชื่อเมืองแห่งนี้ว่า “ภูกามยาว” อันมีความหมายถึงเมืองที่ตั้งอยู่บนเนินเขาที่มีสันยาวขุนศรีจอมธรรมครองเมืองภูกามยาวสืบต่อมาจนมีผู้สืบราชวงศ์อีก 9 รัชกาล จนถึงสมัยพญางำเมือง ราวพุทธศตวรรษที่ 18 พญางำเมืองเป็นราชบุตรขุนมิ่งเมือง ได้ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองภูกามยาวต่อจากพระราชบิดา พญางำเมืองทรงปกครองเมืองภูกามยาวให้มีความเจริญรุ่งเรือง จนมีฐานะเป็นเมืองเอกเรียกว่า “อาณาจักรพยาว” ในสมัยนั้นมีหัวเมืองเอกอยู่ 3 เมือง คือ อาณาจักรสุโขทัย มีพ่อขุนรามคำแหงเป็นกษัตริย์ อาณาจักรเมืองไชยนารายณ์ (เชียงราย) มีพญามังรายเป็นกษัตริย์ และอาณาจักรภูกามยาว มีพญางำเมืองเป็นกษัตริย์ กษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ทรงมีความสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกัน และได้ทำสัตย์ปฏิญาณสาบานตนว่าจะซื่อสัตย์ต่อกันจนตลอดชีวิต เมื่อพญางำเมืองเสด็จสวรรคต พญาคำลือราชโอรสก็ได้ขึ้นครองราชย์แทนเมืองภูกามยาว
เมื่อปีพุทธศักราช 1816 พ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลงขุนคำแดงและขุนคำลือได้สืบราชสมบัติต่อมาตามลำดับ ในสมัยขุนคำลือนี้เองที่เมืองพะเยาต้องเสียเอกราชไปพระยาคำฟู แห่งนครชัยบุรีศรีเชียงแสนได้ร่วมกับพระยากาวเมืองน่านยกทัพมาตีเมืองพะเยาพระยาคำฟูตีเมืองพะเยาได้ก่อนและได้เกิดขัดใจกับพระยากาวทำให้เกิดการสู้รบพระยาคำฟูเสียทีจึงยกทัพกลับเชียงแสน เมืองพะเยาจึงได้รวมอยู่กับอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมาพุทธศักราช 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ให้เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของนครลำปางหลังจากนั้นก็ได้มีผู้ครองเมืองพะเยาต่อมาอีกหลายท่านจนถึงปีพุทธศักราช2457 ได้ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองแล้วใช้ตำแหน่งนายอำเภอแทนพะเยาจึงมีฐานะเป็นอำเภอพะเยาต่อมา
ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตั้งจังหวัดพะเยาตามพระราชบัญญัติ เรื่องตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520 ให้ไว้ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2520
จังหวัดพะเยา ตั้งขึ้นในวันที่ 28 สิงหาคม 2520 ประกอบด้วยอำเภอ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ และมีนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาคนแรก คนแรก
ตราสัญลักษณ์
เป็นรูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำมีลายกระหนกเปลว บนพื้นเบื้องหลังองค์พระพุทธรูปและมีช่อรวงข้าวประกอบอยู่ทั้งสองข้าง
ความหมาย
หมายถึงรูปพระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ พระพุทธรูปคู่เมืองอันเป็นหลักรวมใจของชาวพะเยา ลายกนกเปลวบนพื้นเบื้องหลังองค์พระพุทธรูป หมายถึง ความรุ่งเรืองเบื้องล่างริมของดวงตราเป็นกว๊านพะเยา ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี และมีช่อรวงข้าวประกอบอยู่ทั้งสองข้าง ซึ่งหมายถึงลักษณะของความเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ
คำขวัญประจำจังหวัดพะเยา
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม
ภาษาบาลีวันละคำ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ประธานโครงการ
พระราชญาณกวี (ปิยโสภณ)
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
แต่งกลอนประกอบ
พระมหารัตนกวี ธมฺมโฆสโก
วัดนางชี ภาษีเจริญ กทม.
ค้นคว้า – วิเคราะห์
พระเจสัน ขันติโก วัดลาดปลาเค้า กทม.






