“ภูเก็ต”
ภาษาบาลีวันละคำวันนี้ขอเสนอคำว่า
จังหวัดภูเก็ต
มณีครามนามประเทืองเมืองภูเก็ต
ล้วนของเด็ดอัญมณีศรีสยาม
เมืองแก้วเก็จเพชราสง่างาม
ทั่วเขตคามปักษ์ใต้ได้ทราบกัน
เห็นหาดทรายสีทองมองทั่วทิศ
เป็นนิมิตเมืองใต้วิลัยสวรรค์
ดูครั้งใดไข่มุกอันดามัน
น้องอภิวันท์หลวงพ่อแช่มช่วยคุ้มภัย
เป็นตำนานมงคลยิ่งสองหญิงกล้า
เกาะภูเก็ตวัฒนาสง่าใส
ยังร่มรื่นตื่นตาน่าชื่นใจ
แดนปักษ์ใต้ภูเก็ตดีเด็ดจริงฯ
“ภูเก็ต”
“ภูเก็ต” เดิมนั้นใช้คำว่า “ภูเก็จ”
อันแปลว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา(ภู) มีประกายแก้ว(เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก “มณีคราม”
“มณีคราม”
อ่านว่า มะ-นี-คาม
แปลว่า เมืองแก้ว
ประกอบด้วย มณี + คราม
“มณี”
“มณี” บาลีเป็น “มณิ”
“มณิ” อ่านว่า มะ-นิ
“มณิ” แปลตามศัพท์ว่า
1 “สิ่งที่ให้รู้ถึงความมีค่ามาก” หมายถึง “เป็นของที่มีค่ามาก”
2 “สิ่งที่เป็นเหตุให้นับถือเครื่องอาภรณ์” หมายถึง ”ทำให้เครื่องประดับมีคุณค่า”
3 “สิ่งที่ยังความมืดให้พินาศไป” ธรรมชาติของมณีจะมีแสงในตัว ความหมายที่รู้กันคือ แก้วมณี, รัตนะ, เพชรพลอย
“คราม”
“คราม” เป็นคำสันสกฤต “คฺราม”
“คฺราม” เป็นคำที่ยืมมากจาก “gram”
ในภาษาอังกฤษ “gram” อ่านว่า “กรัม”
มีรากศัพท์มาจากคำว่า “gramme” ในภาษาฝรั่งเศษ หมายถึง กรัม (หน่วยชั่งน้ำหนัก เท่ากับ 1 ใน 1,000 ส่วนของ 1 กิโลกรัม) (อักษรย่อ : g)
“คฺราม” บาลีอ่านว่า “คาม”
คาม บาลีอ่านว่า คา-มะ
“คาม” หมายถึง บ้าน หมู่บ้าน
คา-มะ ในภาษาอังกฤษ karma
“karma” หมายถึง กรรม, การกระทำ, เคราะห์, โชค, ผลของการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากชาติก่อนๆ
ชื่อจังหวัดภูเก็ต เชื่อว่าเพี้ยนมาจากภาษามลายูคำว่า “บูกิ๊ต” ซึ่งแปลว่าภูเขา และเดิมใช้คำว่า “ภูเก็จ”
การเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ.ศ. 700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า แหลมตะโกลา แล้วได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึง ผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออก ของชาติยุโรป ระหว่างพ.ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า จังซีลอน นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขาน ผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ.1568 ว่า “มณีคราม” หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ ภูเก็จ ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในปีพ.ศ . 2328 และได้มีการเรียกขานเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ภูเก็ต ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา มาตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นต้นมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย
จากประวัติศาสตร์ไทยภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนครเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตรโดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัยเมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่าในสมัยอยุธยาชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุงกษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้เช่นไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล ๓,๐๐๐ คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่งและเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ผู้ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคมพ.ศ. 2328พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรีและคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็จ และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลเปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน
ตราประจำจังหวัดภูเก็ต
ตราประจำจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบันเริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.2528 เป็นรูปอนุสาวรีย์สองวีรสตรี อยู่ในวงกลมล้อมด้วยลายกนก ซึ่งแสดงถึงวีรกรรมอันห้าวหาญของท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทรที่ได้ปกป้องเมืองถลางให้พ้น จากการรุกรานของพม่า เมื่อปลายปีมะเส็ง พ.ศ.2328
คำขวัญประจำจังหวัดภูเก็ต
“ ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม “
ภาษาบาลีวันละคำ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ประธานโครงการ
พระราชญาณกวี (ปิยโสภณ)
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
แต่งกลอนประกอบ
พระมหารัตนกวี ธมฺมโฆสโก
วัดนางชี ภาษีเจริญ กทม.
ค้นคว้า – วิเคราะห์
พระเจสัน ขันติโก วัดลาดปลาเค้า กทม.









