“มหาสารคาม”

ภาษาบาลีวันละคำวันนี้ขอเสนอคำว่า
จังหวัดมหาสารคาม

เมืองมหาสารคามนามเก่าก่อน
คือแดนเกิดเมืองนอนเราชาวอีสาน
ยังปราดเปรื่องเรื่องศึกษาแต่ช้านาน
แห่งหมู่บ้านแดนเมืองเรืองวิไล

บ้านลาดกุดนางใยได้ฐานะ
สมวาระยังร่มเย็นเป็นเมืองใหญ่
พระจอมเกล้าประทานนามอันอำไพ
จารึกไว้เป็นประวัติถึงปัจจุบันฯ

“มหาสารคาม”
อ่านว่า มะ-หา-สา-ระ-คาม
แปลว่า เมืองแห่งการศึกษา
ประกอบด้วย มหา + สาร + คาม

“มหา”
“มหา” อ่านว่า มะ-หา
“มหา” ภาษาสันสกฤตว่า “มหนฺตฺ”
“มหนฺตฺ” อ่านว่า มะ-หัน-ตะ
“มหนฺตฺ” แปลว่า ยิ่ง,ใหญ่,มาก
“มหนฺตฺ” รูปคำเดิมบาลีคือ “มหนฺต”
“มหนฺต” อ่านว่า มะ-หัน-ตะ
“มหนฺต” ภาษาไทยใช้ “มหันต์”
“มหนฺต” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายตัว” หมายถึง ยิ่งใหญ่,กว้างขวาง,โต ,มาก,สำคัญ,เป็นที่นับถือ

“สาร”
“สาร” บาลีอ่านว่า สา-ระ
“สาร” แปลว่า สำคัญ, ประเสริฐยิ่ง, แข็งแรง, ชั้นในที่สุดและส่วนที่แข็งที่สุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, แก่นหรือแกนของไม้, แก่นสาร, ส่วนสำคัญ, ส่วนที่ดีที่สุด, คุณค่า

“คาม”
“คาม” บาลีอ่านว่า คา-มะ
“คาม” หมายถึง บ้าน หมู่บ้าน
คา-มะ ภาษาอังกฤษ “karma”
“karma” หมายถึง กรรม, การกระทำ, เคราะห์,ผลการกระทำในชาติก่อน
“คาม” มาจากคำสันสกฤตว่า “คฺราม”
“คฺราม” เป็นคำที่ยืมมากจาก “gram”
ในภาษาอังกฤษ “gram” อ่านว่า “กรัม”
มีรากศัพท์มาจากคำว่า “gramme” ในภาษาฝรั่งเศษ หมายถึง กรัม (หน่วยชั่งน้ำหนัก)

เมืองมหาสารคามความเป็นมาของประวัติศาสตร์นั้นบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยให้เกิดแรงผลักดันการก่อตั่งเมืองมหาสารคามได้นั้น “ท้าวศรีวงศ์”  หรือ ท้าวมหาชัย (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) ท่านเป็นบุคคลที่ทำให้เมืองมหาสารคามมีชีวิตชีวาขึ้นในช่วงเวลาพ.ศ.2408-2421  เมืองมหาสารคามจึงถือกำเนิดขึ้นเป็นต้นมา

ก่อนการก่อตั้งเมืองมหาสารคามนั้นเริ่มจากการที่พระขัติยวงศา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ได้ให้ท้าวกวดและท้าวบัวทองไปสำรวจดินแดนทางทิศตะวันตกของเมืองร้อยเอ็ด เพื่อขอตั้งเมืองใหม่ ทั้งท้าวกวดและท้าวบัวทองเห็นว่าเหมาะสมสำหรับเป็นทำเลที่ตั้งที่ดีในการจะตั้งเมืองใหม่ ต่อจากนั้นพระขัติยวงศา(จัน) ได้แบ่งผู้คนจากเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 9,000 คน  มายังพื้นที่บริเวณเมืองใหม่นี้(ซึ่งในบริเวณนั้นมีผู้คนมาอาศัยอยู่ก่อนแล้วบริเวณกุดนางใยซึ่งมีชุมชนอยู่มาก่อนแล้วบริเวณนั้นเรียกว่า บ้านลาดกุดนางใย) ในปี พ.ศ.2402 ได้มีหนังสือกราบบังคบทูลไปยังกรุงเทพฯ จนวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าให้ยก “บ้านลาดกุดนางใย” เป็นเมืองมหาสารคาม พร้อมทั้งแต่งตั้งท้าวกวด เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมืองคนแรกของเมืองมหาสารคาม

เมื่อท้าวกวดได้รับการแต่งตั้งแล้ว ท่านได้สร้างที่อยู่อาศัยของท่านตรงบริเวณหนองกระทุ่มทางทิศเหนือของกุดนางใย เพราะเป็นที่ราบอยู่ระหว่างห้วยคะคางกับกุดนางใยเป็นทำเลที่ตั้งที่ดีจึงเลือกบริเวณนี้สร้างเป็นโฮงเจ้าเมือง (คำว่า “โฮง” หมายถึง บ้าน ที่อยู่อาศัย ซึ่งโฮงจะใหญ่กว่าบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป ที่คนอีสานเรียกว่า “เฮียน”) และพร้อมที่จะตั้งเป็นที่ว่าราชการในเวลาเดียวกัน

เมืองมหาสารคามเริ่มมีชีวิตขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ.2408 เป็นต้นมา จากบทบาทการสร้างแปงเมืองของท้าวกวด ทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองมหาสารคามกล่าวคือ ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ท้าวกวดได้สร้างโฮงเจ้าเมืองนั้น บริเวณทางทิศตะวันตกของกุดนางใยทำให้ผู้คนที่อพยพมาจากเมืองร้อยเอ็ดมีการมาตั้งถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนกุดนางใยที่อยู่มาก่อนแล้วซึ่งเราเรียกกลุ่มชุมชนนี้เรียกว่า “ชุมชนคุ้มบ้านจารย์” ซึ่งมีกุดนางใยเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญในการดำรงชีวิต ผู้คนที่อพยพเข้ามานั้นบ้านเรือนส่วนใหญ่จะเป็นบ้านทำด้วยไม้และอยู่รวมกันเป็นคุ้ม ต่อมาจึงเรียกชุมชนนั้นว่า “คุ้มเจ้าเมือง” เมื่อบริเวณริมกุดนางใยมีการขยายตัวของผู้คนแล้วนั้น ท้าวกวดได้สร้างวัดขึ้น ได้แก่ วัดโพธิศรี วัดกลาง (ปัจจุบันคือวัดอภิสิทธิ์)  วัดมหาชัย วัดอุทัยทิศซึ่งอยู่ฝั่งทางทิศตะวันออกของกุดนางใย  จนเป็นบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของเมืองมหาสารคามในช่วงเวลานั้นและเกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่เกิดขึ้นนำไปสู่วิถีชีวิตของชุมชนเมืองมหาสารคาม ไม่ว่าจะเป็น โฮงเจ้าเมือง บ้านเรือน ร้านค้าในสมัยนั้นชุมชนมักจะสร้างตึกดินกันมากส่วนใหญ่เป็นคนจีนที่ถูกอพยพจากเมืองร้อยเอ็ดมาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

เมืองมหาสารคาม นับเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมของชาวอีสาน มีชุมชนโบราณมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านเชียงเหียน หมู่บ้านปั้นหม้อของชาวบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคามแหล่งโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนาก็มี พระธาตุนาดูน กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน กู่บ้านแดง อำเภอวาปีปทุม ปรางค์กู่ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม ที่น่ามาศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง

ปัจจุบันจังหวัดมหาสารคามเป็นเมือง ตักสิลา เมืองการศึกษาของชาวเมืองตักสิลา เมืองการศึกษาของชาวอีสาน มีทั้ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยอาชีวศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาอุดมศึกษาของภาคเอกชน ซึ่งในช่วงเปิดภาคเรียนจังหวัดมหาสารคาม จะครึกครื้นไปด้วยนักศึกษาจากต่างถิ่นที่มาศึกษาหาความรู้จากสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดมหาสารคาม

ตราประจำจังหวัดมหาสารคาม
เป็นรูปต้นไม้ใหญ่และท้องทุ่ง หมายถึง พื้นดินอันอุดมให้ความสุขสมบูรณ์แก่ประชาชน ซึ่งมีการทำนาเป็นอาชีพหลัก พื้นที่ในจังหวัดนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร นอกจากการทำนาชาวเมืองยังมีอาชีพอีกหลายอย่าง เช่น ทำเกลือสินเธาว์ ไร่ฝ้าย ยาสูบ และเลี้ยงไหม เมืองมหาสารคามแยกออกมาจาก แขวงเมืองร้อยเอ็ดในสมัยรัชกาลที่ 4

คำขวัญประจำจังหวัด
“พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร”

ภาษาบาลีวันละคำ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ประธานโครงการ
พระราชญาณกวี (ปิยโสภณ)
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

แต่งกลอนประกอบ
พระมหารัตนกวี ธมฺมโฆสโก
วัดนางชี ภาษีเจริญ กทม.

ค้นคว้า – วิเคราะห์
พระเจสัน ขันติโก วัดลาดปลาเค้า กทม.

6 Comments

ส่งความเห็นที่ nanette ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *